การส่งออกและการนำเข้า

การส่งออกและการนำเข้า

Together Freight ให้บริการในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทาง รถ เครื่องบิน รถบรรทุก และรถไฟ รวมทั้งให้บริการในด้านการผ่านพิธีการทางด้านศุลกากรทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ

การส่งสินค้าทางเครื่องบินจะคิดราคาค่าขนส่งต่อกิโลกรัม ส่วนการส่งสินค้าทางเรือจะคิดราคา 2 แบบคือ แบบเต็มตู้ FCL จะคิดราคาค่าขนส่งตามขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ ส่วนแบบไม่เต็มตู้ LCL จะคิดราคาค่าขนส่งตามปริมาตรสินค้าเทียบกับน้ำหนักของสินค้า

โดยราคาค่าขนส่งนี้จะไม่รวมค่าบริการผ่านพิธีการศุลกากร ทั้งขาออกและขาเข้า ซึ่งจะคิดอัตราราคาเหมาซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและรายการสินค้าที่ส่งออก

หากลูกค้าต้องการใช้บริการในการรับสินค้าที่ต้นทางและจัดส่งสินค้าที่ปลายทาง จะต้องแจ้งรายละเอียดของที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับสินค้า

การคิดค่าระวางสินค้า

Incoterms คือเงื่อนไขข้อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งมอบสินค้า ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า

ในการค้าระหว่างประเทศจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าเพื่อที่ผู้ซื้อจะได้นำไปคำนวณต้นทุนสินค้าในการซื้อขายระหว่างกัน 

ปัจจุบันเราใช้ Incoterms®2020 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2563

  1. จะต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับกรมศุลกากรก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถนำเข้าสินค้าได้
  2. จะต้องทราบว่าสินค้าที่จะนำเข้ามาอยู่ภายใต้พิกัดอัตราศุลกากรอะไร   
    •  การค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรสามารถติดต่อได้ที่กรมศุลกากร  หรือ  ค้นหาพิกัดอัตราอากรขาเข้า
    • เมื่อได้พิกัดอัตราอากรขาเข้าแล้ว จึงจะทราบว่าต้องเสียภาษีในการนำเข้าสินค้าในอัตราเท่าไหร่และจะต้องใช้เอกสารประกอบหรือใบอนุญาตในการนำเข้าสินค้าหรือไม่
  3. หลังจากตัดสินใจที่จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในประเทศต้นทางแล้ว จะต้องกำหนดเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าหรือที่เรียกว่า Incoterms

การยื่นขอลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร สามารถลงทะเบียนได้ที่กรมศุลกากร หรือที่ด่านศุลกากรทั่วประเทศ เมื่อลงทะเบียนแล้วก็สามารถส่งออกหรือนำเข้าสินค้าได้

 

>> การลงทะเบียน E-Paperless

  • เป็นกฏเกณฑ์ทางการค้าที่กำหนดโดย สภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber Commerce - ICC) ที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ระบุในสัญญาซื้อขาย ในการทำการค้าระหว่างประเทศ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญารับขน สัญญาการประกันภัย และสัญญาด้านการเงิน
  • เป็นเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ
    • Delivery Port จุดส่งมอบสินค้า เช่นสถานที่ที่ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
    • Cost ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งมอบสินค้าจากต้นทางไปจนถึงปลายทาง
    • Risk ความเสี่ยงภัย ที่เกี่ยวกับการสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งสินค้า
    • Customs Clearance การผ่านพิธีการศุลกากร


การขนส่งสินค้าแบบ Courier เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดเล็ก เป็นการให้บริการแบบ Door-to-Door ค่าใช้จ่ายในการขนส่งรูปแบบนี้จะถูกกว่าการขนส่งแบบ Air Freight ซึ่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยผู้ให้บริการจะคิดราคาค่าขนส่งต่อกิโลกรัม การขนส่งลักษณะนี้ค่าขนส่งจะสูงขึ้นตามน้ำหนักของสินค้าที่เพิ่มขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ส่งสินค้าจากประเทศไทย ไปประเทศจีน อัตราค่าขนส่งอยู่ที่ 100 บาทต่อกิโลกรัม

ถ้าเรามีสินค้าน้ำหนัก 10 กิโลกรัม เราจะต้องเสียค่าขนส่งที่ 1000 บาท (100 บาท/กก *10 กก)

ถ้าเรามีสินค้าน้ำหนัก 100 กิโลกกรัม เราจะต้องเสียค่าขนส่งที่ 10,000 บาท (100 บาท/กก * 100 กก)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายิ่งส่งในปริมาณที่สูงขึ้น ค่าขนส่งก็จะสูงขึ้นตามเช่นกัน

การขนส่งสินค้าแบบ Door-to-Door เป็นการขนส่งโดยรับสินค้าจากสถานที่ของผู้ขาย/ผู้ส่งออก ที่ต้นทาง และส่งไปยังสถานที่ของผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า ที่ปลายทาง ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการขนส่งสินค้าจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย เงื่อนไขการขนส่งแบบ Door-to-Door ที่ใช้กันในปัจจุบันจะแตกต่างกันไป แบ่งตามความรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าภาษีและความเสียงภัย ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

การขนส่งสินค้าแบบ Port to Port คือการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปจนถึงท่าเรือปลายทาง โดยเงื่อนไขที่นิยมใช้กันจะเป็นเทอม CFR, CIF และ FOB

เงื่อนไข CFR ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าตั้งแต่หน้าโรงงานไปจนถึงท่าเรือปลายทาง  ส่วน CIF จะคล้ายกับ CFR โดยผู้ขายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการประกันภัยสินค้าด้วย 

เงื่อนไข FOB ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าตั้งแต่หน้าโรงงานไปจนถึงท่าเรือต้นทางเท่านั้น จากนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปจนถึงสถานที่ปลายทาง

โดยเงื่อนไขการขนส่งที่กล่าวมานี้ ในฝั่งต้นทางผู้ขาย / ผู้ส่งออก จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการต่างๆเพื่อการส่งออกดังนี้

1. ค่าขนส่งสินค้าจากสถานที่ต้นทางไปจนถึงท่าเรือต้นทาง (Trucking Charge)
2. ค่าดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ (Customs Clearance)
3. ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ทางผู้ขนส่งเรียกเก็บที่ต้นทาง (Local Charges) เช่นค่าใบตราส่งสินค้า ค่าบรรจุสินค้า ฯลฯ


ในฝั่งของผู้ซื้อ / ผู้นำเข้า จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการต่างๆเพื่อการนำเข้าดังนี้

1. ค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปจนถึงท่าเรือปลายทาง (Trucking Charge)
2. ค่าดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า รวมทั้งค่าธรรมเนียมต่างๆ (Customs Clearance)
3. ค่าภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าสำหรับสินค้าขาเข้า (Duty & VAT)
4. ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ทางผู้ขนส่งเรียกเก็บที่ปลายทาง (Local Charges) เช่น ค่าเอกสารสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) ค่ายกตู้สินค้า ฯลฯ

การขนส่งสินค้าแบบ Sea Freight เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือมีปริมาณมาก การขนส่งประเภทนี้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรทุกครั้ง และใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้านานกว่าการขนส่งโดยเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าต่อหน่วยจะถูกลงเมื่อส่งออกในปริมาณที่มากขึ้น และสามารถขนส่งสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ตู้ควบคุมอุณหภูมิได้ (Reefer Container) รวมทั้งสินค้าอันตราย

การขนส่งสินค้าทางเรือ

การขนส่งสินค้าแบบ Air Freight เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีปริมาณมาก หรือเมื่อเทียบกับการขนส่งแบบ Courier แล้วให้ราคาต่อหน่วยที่ถูกกว่า การขนส่งรูปแบบนี้สามารถขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods) หรือสินค้าสด (Fresh Cargo) สินค้าแช่เย็นได้ (Frozen Cargo) แต่ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการทางศุลกากรทุกครั้ง การให้บริการมีทั้งแบบ Port-to-Port และ Door-to-Door โดยผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการขนส่งตามประเภทของการใช้บริการ เช่น ค่ารถรับสินค้า จะเรียกเก็บต่อเที่ยว ค่าผ่านพิธีการทางด้านศุลกากรจะเรียกเก็บตามจำนวนของใบตราส่งสินค้า (Airway Bill) ค่าขนส่งสินค้าจะเรียกเก็บตามน้ำหนักและปริมาตรของสินค้า

บริการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน

การขนส่งสินค้าแบบเต็มตู้ หรือ FCL (Full Container Loaded) เป็นการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ หรือสินค้าที่มีปริมาณมาก แบบเหมาทั้งตู้คอนเทนเนอร์ การคิดอัตราค่าขนส่งจะเรียกเก็บตามชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์

ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน จะมี ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต (ตู้สั้น) , ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุด (ตู้ยาว) และตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต HQ/HC (ตู้ไฮคิว)

 ชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ มีทั้งแบบตู้แห้ง หรือตู้ธรรมดา (Dry Container) สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป , ตู้เย็น (Reefer Container) สำหรับสินค้าที่ต้องการรักษาอุณหภูมิ, 

ตู้เปิดหลังคา (Opentop Container) สามารถบรรจุสินค้าทางด้านบนได้โดยใช้ผ้าใบคลุมปิด และตู้พื้นเรียบ (Flat Rack Container) สามารถบรรจุสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่มีความกว้างและความสูงเกินกว่าตู้ธรรมดา

บริการขนส่งสินค้าแบบเต็มตู้

การขนส่งสินค้าแบบ LCL (Less Than Container Loaded) คือการขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้ ผู้ประกอบการที่ต้องการจะส่งออกหรือนำเข้าสินค้า สามารถเลือกใช้การขนส่งโดยวิธีนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเลือกใช้บริการแบบเหมาทั้งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งวิธีการในการคิดค่าขนส่งเราจะคิดขั้นต่ำที่ปริมาตร 1 ลูกบาศ์กเมตร (คิว) ต่อน้ำหนักสินค้า 1,000 กิโลกรัม (ตัน) 

การขนส่งสินค้าทางเรือในรูปแบบ LCL นั้นจะต้องรู้ว่าสินค้าแต่ละชิ้นมี ปริมาตร น้ำหนัก และกินพื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์เท่าไหร่ บางครั้งเราอาจจะได้ยินว่าสินค้านี้มีขนาด 1 คิว หมายถึงสินค้านี้มีปริมาตรที่ 1 CBM, CBM = ย่อมาจาก Cubic meter คือ ลูกบาศก์เมตร

 

>>> บริการขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้