การคิดค่าระวางสินค้า

198064 Views  | 

การคิดค่าระวางสินค้า

การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight) 
 
        การคิดคำนวนค่าระวางการขนส่งสินค้าทางอากาศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
 
        - การคิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Actual Weight / Gross Weight)
        - การคิดจากปริมาตรความจุ (Volume Weight)โดยค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง
 

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้รับจากการเปรียบเทียบ)

ตัวอย่างการคำนวณ

ถ้าต้องการส่งสินค้าจำนวน 10 กล่อง น้ำหนัก 40 กิโลกรัมต่อกล่อง ขนาดกล่องละ กว้าง 70 x ยาว 70x สูง 60 ซม.

จากกรุงเทพไปโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

อัตราค่าระวาง มีดังนี้

น้ำหนักสินค้าตั้งแต่ 45 กิโลกรัม อัตราค่าละวางกิโลกรัมละ 60 บาท

น้ำหนักสินค้าตั้งแต่ 250 กิโลกรัม อัตราค่าระวางกิโลกรัมละ 55 บาท


วิธีคำนวณ

เริ่มจากการเปรียบเทียบน้ำหนักสินค้า 

Actual Weight  = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง

= 10 x 40  = 400 กิโลกรัม 

 

Volume Weight = จำนวนของ x ปริมาตรของกล่อง (กว้าง x ยาว x สูง) (ซม.) / 6,000

=  10 x (70 x70 x60) / 6,000

= 490 กิโลกรัม
 

*** ตัวเลข 6,000 คือ อัตราเปรียบเทียบที่ทางสายการบินกำหนด ***
 
จากการคำนวณ จะเห็นว่า Volume Weight (490 กิโลกรัม) มากกว่า Actual Weight (400 กิโลกรัม)

ดังนั้น เราจึงใช้ Volume Weight ในการคิดค่าระวาง

โดยอัตราค่าระวาง จะใช้ราคา น้ำหนักตั้งแต่ 250 กิโลกรัมๆละ 55 บาท

 

ค่าระวาง      =  อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า

=  THB 55 x 490 กิโลกรัม =  THB 26,950

เพราะฉะนั้น จะต้องชำระค่าระวางสินค้า 26,950 บาท

 

การขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight)


การขนส่งสินค้าทางเรือ โดยระบบตู้คอนเทนเนอร์นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- FCL (Full container load) คิดค่าระวางตามจำนวนตู้
- LCL(Less container load) คิดค่าระวางตามลูกบาศก์เมตร(CBM) หรือตามน้ำหนักปริมาตร(Weight Ton) โดยค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

 

ตัวอย่างการคำนวณ(กรณี LCL)

ถ้าต้องการส่งสินค้าจำนวน 20 กล่อง น้ำหนัก 40 กิโลกรัมต่อกล่อง ขนาดกล่องละ กว้าง 40 x ยาว 60 x สูง 100 ซม.

จากท่าเรือกรุงเทพ ไป ท่าเรือโตเกียว   อัตราค่าระวาง USD 20 / CBM

 

วิธีการคำนวณ

เริ่มจากการเปรียบเทียบปริมาตร

ลูกบาศก์เมตร (CBM) =  จำนวนของ x ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อกล่อง

= 20 x [(40 x60x100)/1,000,000]

= 4.800 CBM

Weight ton = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง(ตัน)

= 20 x (40/1,000)

= 0.80 Ton

จากการคำนวณ CBM มากกว่า Weight ton ดังนั้น จึงใช้ CBM ในการคิดค่าระวาง

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x ปริมาตรของ

= USD 20 x 4.800

= USD 96

เพราะฉะนั้น จะต้องชำระค่าระวางสินค้า USD 96

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy