ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ

259 Views  | 

Import Procedure Cover

การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นขั้นตอนสำคัญในการขยายธุรกิจ และมีความซับซ้อน ผู้นำเข้าต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมเพื่อให้การนำเข้าสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัด ในประเทศไทยก็มีข้อกำหนดและข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าบางประเภท หรือมีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าที่สูงสำหรับสินค้าบางชนิด การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ อาจทำให้สินค้าถูกกักกัน ยึด หรือถูกส่งกลับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายและความล่าช้า ทางทูเกตเตอร์จะมาแนะนำขั้นตอนการนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนและการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้นำเข้ามือใหม่หรือผู้ที่สนใจอยากจะนำเข้าสินค้า

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า
  1. จดทะเบียนพาณิชย์ และขอเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  2. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้นำเข้าสินค้าทุกชนิด เว้นแต่สินค้าพืชผลทางการเกษตรจะได้รับยกเว้น
  3. ขึ้นทะเบียน Paperless กับกรมศุลกากร เพื่อใช้ผ่านพิธีการศุลกากร ในขั้นตอนนี้ผู้นำเข้า สามารถดำเนินการด้วยตัวเอง หรือใช้บริการผ่านทูเกตเตอร์ก็ได้เช่นกัน
  4. หาสินค้าที่ต้องการนำเข้าจากประเทศต่างๆ โดยผู้ขายต้องสามารถยืนยันชื่อและที่อยู่ เพื่อใช้ในการส่งออกได้
    • การยืนยันชื่อและที่อยู่ของผู้ขายสินค้า คือผู้ขายสินค้าต้องมีการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับหน่วยงาน ณ ประเทศของผู้ผลิตสินค้า
  5. ตรวจสอบประเภทสินค้าและกฏเกณฑ์ในการนำเข้า เช่น
    • อัตราภาษีนำเข้า (จำเป็นต้องตรวจสอบทุกครั้ง)
    • ข้อห้ามและข้อจำกัดในการนำสินค้าเข้า เช่น
      • อาหารสดและอาหารแปรรูปบางชนิด
      • พืชและสัตว์บางชนิด
      • อาวุธและวัตถุอันตราย
      • สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    • เอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้า (จำเป็นต้องตรวจสอบทุกครั้ง) เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ใบอนุญาตต่างๆ
    • มาตรฐานและข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัย
    • ข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์และการติดฉลาก
  6. วางแผนการนำเข้า โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ระยะเวลาในการดำเนินพิธีการศุลกากร และระยะเวลาในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการนำเข้า เพื่อให้สินค้าถึงปลายทางตามเวลาที่กำหนด
  7. ติดต่อ สั่งซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อจะออกเอกสารที่เรียกว่า ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order ) เพื่อให้ผู้ขายออกเอกสาร บัญชีราคาสินค้า (Invoice) และ ใบกำกับหีบห่อ (Packing List) เพื่อเป็นการยืนยันคำสั่งซื้อสินค้า ในขั้นตอนนี้ จะมีเรื่องของเงื่อนไขการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Incoterms) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละเงื่อนไขจะเป็นตัวกำหนดความรับผิดชอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
  8. ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร
  9. คัดเลือกผู้ให้บริการขนส่ง (Freight Forwarder) ที่เชื่อถือได้ เพื่อช่วยดำเนินการขั้นตอนการนำเข้า เช่น
    • มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการขนส่งสินค้าประเภทของคุณ
    • มีบริษัทตัวแทนอยู่ในประเทศของผู้ขายสินค้าหรือผู้ผลิต เพื่อประสานงานขั้นตอนการส่งออกและนำเข้า
    • บริการเสริมต่างๆ เช่น การประกันภัยสินค้า การติดตามสถานะการขนส่ง
    • ราคาและเงื่อนไขการให้บริการ
  10. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการนำเข้า
    • ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Customs Entry)
    • ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading) ทางอากาศ (Air Way Bill)
    • บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    • ใบกำกับหีบห่อ (Packing List)
    • ใบอนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) Import Permit
    • ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificates of Origin) กรณีมีการขอลดอัตราภาษีอากร
    • ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) 
    • เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า (Material Safety Data Sheet), แค๊ตตาล็อก (Catalog)
  11. เมื่อสินค้ามาถึง ท่าเรือหรือสนามบินปลายทาง ผู้นำเข้าหรือตัวแทนผู้นำเข้า (Freight Forwarder) ดำเนินการติดต่อบริษัทขนส่งสินค้า เพื่อรับเอกสารใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) โดยขั้นตอนนี้ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าใช้จ่ายขาเข้า (Local Charges)กับผู้ขนส่งให้เรียบร้อย
  12.  ดำเนินผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าและชำระภาษีอากร 
     ปัจจุบันการชำระภาษี สามารถทำได้ 3 วิธี คือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร และกรมศุลกากร
     โดยจัดเตรียมใบขนสินค้าขาเข้าและเอกสารเพื่อการนำเข้ายื่นต่อเจ้าหน้าศุลกากร เพื่อทำการ
     ตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร
  13. ขนส่งสินค้าไปยังผู้นำเข้าหรือผู้รับสินค้า
    เมื่อสินค้าได้รับการตรวจปล่อยเรียบร้อย จึงจะสามารถขนส่งไปยังผู้นำเข้าได้



Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy